ตั้งแต่ศึกษาขนาด ร่างภาพ จนทำกราฟฟิกขึ้นมาเป็นของจริง
Artd3302-Preeshatham
เป็นเว็บบล็อคที่แสดงผลการเรียนรู้วิชา การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์
วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ทำไมถึงใช้ชื่อ "ตัง"
การที่ใช้ชื่อสั้นๆว่า "ตัง" นั่นก็เพราะว่า เป็นคำที่กระชับ จำง่าย ผู้ฟังรู้สึกดี ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง
เหมือนเราพูดเล่นกับเพื่อน หรือเด็กน้อยพูดกับแม่ ประมาณว่า "ขอตังค์หน่อย" เป็นคำสั้นๆที่ไม่ต้องพูดเต็มประโยค แต่สื่อสารกันเข้าใจ และการใช้ชื่อนี้เพื่อต้องการตีความหมายถึง สตางค์ ด้วย ให้ความรู้สึก
ว่าเราถือขนมเหมือนกับถือเงินไปด้วย สร้างความเฮฮาเล็กน้อยกับผู้บริโภค
ทำความรู้จัก ขนมข้าวตัง
ข้าวตัง
หรือเรียกว่า ข้าวพอง เฉพาะด้านหน้าหรือด้านบนเท่านั้นที่หน้าจะตั้งพองขึ้นมา ส่วนด้านล่างนั้นแบนแฟบ ไม่ขึ้นหน้าเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ข้าวตัง หน้าตั้ง
คนโบราณมักขูดข้าวก้นหม้อออกมาผึ่งแดดเพื่อเก็บไว้เป็นเสบียง หรือไว้ทำเป็นของกินเล่นแบบไม่ให้เสียคุณค่า ข้าวตังหน้าตั้ง เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำมาจากข้าวที่หุงสุดติดกระทะหรือหม้อ นำมาแซะออกให้เป็นแผ่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง ตัดเป็นแผ่นๆ นำไปทอดให้พองฟูส่วนวิธีทำน้ำจิ้มให้นำกะทิขึ้นตั้งไฟแล้วเคี่ยวให้แตกมัน จากนั้นโขลกพริกแห้ง กระเทียม พริกไทย และรากผักชีให้ละเอียด แล้วนำไปผัดกับกะทิให้หอม เสร็จแล้วนำหมูสับ กุ้งสับลงไปผัดตามจนสุกดี แล้วจึงใส่หอมแดงและถั่วลิงสงป่นลงไปคนให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา และน้ำตาลปีบ คนให้น้ำงวดลงเล็กน้อย เวลากินกับข้าวตังจะได้รสชาติเข้มข้นพอดี เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย ตกแต่งด้วยผักชีและพริกชี้ฟ้า เสิร์ฟพร้อมข้าวตัง กินเป็นของว่างยามบ่าย เอกลักษณ์ของรสชาติรสอ่อน ไม่เข้มเหมือนเครื่องจิ้มชนิดอื่นๆ เพราะจะนำมาทานเป็นของว่าง เพราะฉะนั้นควรจะมีรสอ่อนๆ เพราะจะทำให้ทานได้มาก รสหวาน เค็มเท่าๆกัน แล้วตามด้วยเปรี้ยวนิดเดียว ได้รสชาติมันๆจากถั่วลิสงคั่วป่นวันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557
รายงานการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ขนมข้าวตังหมูหยอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)